จิรา เพ็ชรรัตน์ ได้ให้สัมภาษณ์กับอีจัน เรื่อง ยกเครื่องการศึกษา รู้เท่าทันสื่อ เทคโนโยี
จิรา เพ็ชรรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิน คัมปานี จำกัด ได้ให้สัมภาษณ์กับอีจัน ไว้ว่า
หลักสูตรการศึกษาด้านวารสารศาสตร์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับภูมิทัศน์สื่อและเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยแนวทางการปรับเปลี่ยนที่สำคัญ ได้แก่
ควรจะมีการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลและเครื่องมือใหม่ๆ เช่น เพิ่มหลักสูตรเกี่ยวกับ AI, Data Journalism, VR/AR, และ Blockchain ในสื่อ สอนการใช้เครื่องมือดิจิทัล เช่น SEO, Google Analytics, Social Listening Tools เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคข่าว ฝึกฝนทักษะ Multimedia Storytelling เช่น การตัดต่อวิดีโอ การทำ Podcast หรือ Interactive News เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเทรนด์ และความต้องการของการสื่อสารในโลกปัจจุบัน
พัฒนาทักษะด้านวารสารศาสตร์เชิงลึกและวิเคราะห์ โดยเน้นการรายงานข่าวที่มีคุณภาพ เช่น Investigate Journalism และ Data-Driven Journalism สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรมสือในยุคดิจิทัล และการรับมือกับข่าวปลอม (Fake News) และเพิ่มการสอนเรื่อง Media Literacy และ Critical Thinking เพื่อให้นักสื่อสารมีความรอบรู้และไม่ตกเป็นเครื่องมือของอิทธิพลต่างๆ
ฝึกประสบการณ์จริงและการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น ด้วยการส่งเสริม Project-Based Learning โดยให้นักศึกษาได้ผลิตเนื้อหาจริงบนแพลตฟอร์มที่ใช้งานจริง ร่วมมือกับสำนักข่าวและแพลตฟอร์มสื่อเพื่อฝึกงานหรือ Co-Op Program และเปิดโอกาสให้เรียนรู้แบบ Hybrid Learning และ Online Courses เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ได้ตามความต้องการเสริมทักษะธุรกิจและความเป็นผู้ประกอบการสื่อ (Media Entrepreneurship) ด้วยการเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับ Business Model ของสื่อยุคใหม่ เช่น Subscription, Crowdfunding, Influencer Economy สอนแนวคิด Branding และ Personal Branding สำหรับนักข่าวเพื่อให้นักข่าวสามารถเป็น Content Creator ได้ และให้ความรู้ด้านกฎหมายดิจิทัลและทรัพย์สินทางปัญญา ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข่าวและคอนเทนต์
อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงหลักสูตรวารสารศาสตร์ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยี แต่ต้องคำนึงถึงบทบาทของนักข่าวในสังคมที่เปลี่ยนไปด้วย นักข่าวยุคใหม่ต้องไม่ใช่แค่ผู้รายงานข่าว แต่ต้องเป็นนักวิเคราะห์ นักตรวจสอบ และนักเล่าเรื่องที่สามารถใช้เครื่องมือดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของ Media Landscape เป็นผลมาจากการดิสรัปชั่นด้านดิจิทัลเทคโนโลยี ซึ่งกระทบเป็นวงกว้างในทุกวงการ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่องานประชาสัมพันธ์ให้ต้องปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มรูปแบบใหม่ๆ การใช้อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Marketing) เป็นกลยุทธ์สำคัญในการประชาสัมพันธ์ การสร้างศูนย์ข้อมูล (Data Center) การบริหารจัดการข้อมูลยามวิกฤต (Crisis Management) การผลิตคอนเทนต์ที่สอดคล้องกับลักษณะหรือธรรมชาติของแพลตฟอร์มต่างๆ และการนำ AI มาช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการด้านงานพีอาร์ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล สร้างเนื้อหา และการบริหารจัดการแคมเปญ ทั้งนี้ การจัดการข้อมูลยังจำเป็นต้องใช้บุคคลในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและเนื้อหาด้วยเช่นกัน
เราอาจสรุปได้ว่า การเข้ามาของสื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media ทำให้ประชาชนทุกคนที่เข้าถึงสามารถเป็นผู้สื่อข่าว ผู้ผลิตข้อมูล และเป็นผู้สื่อสารข้อมูลต่างๆ ออกสู่สาธารณะได้ ไม่ถูกจำกัดเฉพาะสำนักข่าว หรือผู้ที่ทำธุรกิจด้านสื่อโดยเฉพาะ นอกจากนี้ สื่อดั้งเดิมกระแสหลัก (Traditional Media) เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ก็ถูกลดความสำคัญลงไป เพราะมีสื่อใหม่ (New Media) บนแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดีย ผลของการเปลี่ยนแปลงของ Media Landscape ทำให้เกิดสื่อหน้าใหม่ เนื้อหาใหม่ ช่องทางใหม่ ในทุกๆ วัน ทุกๆ นาที โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักทำคอนเทนต์หรือ Content Creator ที่เกิดขึ้นอย่างมากมายในสื่อสังคมออนไลน์ด้วยรูปแบบเนื้อหาที่หลากหลาย และจำนวนผู้ติดตามที่สูง ซึ่งตามมาด้วยรายได้และผลประโยชน์มหาศาล ปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดภาวะข้อมูลท่วมท้นในสังคมไทย ภาวะข้อเท็จจริงแห้งเหือด ผู้บริโภคข่าวสารกำลังพึ่งพากระแสจากสื่อสังคมออนไลน์มากกว่าข้อเท็จจริงในการดำรงชีวิตประจำวัน
จึงถือเป็นความรับผิดชอบอย่างยิ่งสำหรับสถาบันการเรียนการสอนวิชาด้านการสื่อสารที่ต้องกำหนดและปรับปรุงหลักสูตรที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ และภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อผลิตบุคลากรทางการสื่อสารที่มีคุณภาพ มีจริยธรรมสื่อที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อผู้รับสารและสังคมโดยรวม รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ในยุคที่สังคมไทยกำลังถูกอัดแน่นด้วยข้อมูลท่วมท้นที่มาจากทุกทิศทุกทาง ผู้บริโภคกำลังมองหาสถาบันสื่อที่มีคุณภาพที่พวกเขาไว้ใจได้ว่าจะสามารถเข้าถึงข้อเท็จจริง และข้อมูลต่างๆ ที่มีความน่าเชื่อถือตามหลักการของวารสารศาสตร์
อ้างอิง : บทความจากอีจัน เรื่อง ยกเครื่องการศึกษา รู้เท่าทันสื่อ เทคโนโลยี